เราแค่อารมณ์แปรปรวน หรือเราเป็นโรคจิตทางอารมณ์ ? รักษาโรคซึมเศร้า พัทยา

เราแค่อารมณ์แปรปรวน หรือเราเป็นโรคจิตทางอารมณ์ ? รักษาโรคซึมเศร้า พัทยา

รักษาโรคซึมเศร้า พัทยา การที่เรามีอารมณ์แปรปรวน ไม่ว่าจะเป็นอยู่ดีๆ ก็มีความสุขมาก อยู่ดีๆก็เศร้า หรือบางทีก็เฉยๆไปหมด คงจะเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว แต่หากอารมณ์เหล่านั้น เริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นล่ะ..? มันยังปกติอยู่มั้ย ?

วันนี้ Agnos พามาทำความรู้จักกับ โรคจิตทางอารมณ์ หรือ affective psychosis ซึ่งเป็นโรคที่ได้รับการวิเคราะห์จากทางแอปพลิเคชั่น Agnos อันดับ 1 เลยทีเดียว


โรคจิตทางอารมณ์ ( affective psychosis ) คืออะไร ?

โรคจิตทางอารมณ์เป็นความผิดปกติทางจิตทางอารมณ์อย่างรุนแรง ที่สามารถเกิดขึ้นซ้ำๆได้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล รวมถึงแสดงออกถึงอารมณ์ที่มีความสุขมาก หรือตื่นเต้นมากได้อีกด้วย

ผู้ป่วยต้องมีอาการทางโรคจิต (Psychosis) ร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการสำคัญที่ทำให้โรคจิตทางอารมณ์ต่างจากโรคทางอารมณ์อื่นๆ โดยการแสดงออกทางอารมณ์เหล่านั้นมักจะมาพร้อมกับความผิดปกติข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

  • อาการหลงผิด สับสน
  • มีทัศนคติเกี่ยวกับตัวเองที่ผิดปกติกว่าเดิม เช่น การคิดว่าตัวเองมีความสำคัญ หรือเหนือคนอื่น
  • มีความผิดปกติทางการรับรู้หรือพฤติกรรม

การแบ่งประเภทของโรคจิตทางอารมณ์นั้นค่อนข้างซับซ้อน เพราะสามรถแบ่งได้ตามเกณฑ์ต่างๆ แล้วแต่ผู้จำแนกนั่นเอง รักษาโรคซึมเศร้า พัทยา

โดยหากแบ่งตามสมาคมจิตแพทย์ของอเมริกา ( ปี ค.ศ. 1980 )
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆได้ คือ

  1. ชนิดอาการซึมเศร้า (Depression)

โดยชนิดนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยรู้ศึกเศร้า หรือสิ้นหวังมากกว่าปกติ โดยจากสถิติมีประชากรกว่า 264 ล้านคนทั่วโลกมีภาวะหรืออาการนี้

โดยสามารถแบ่งย่อยๆได้อีก 3 ชนิดคือ

  • โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเศร้า สิ้นหวัง เหนื่อยมาเป็นเวลานาน รวมถึงอาการร่วมอื่นๆ อย่าง การนอนไม่หลับ หรือไม่อยากอาหารเป็นต้น
  • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia) โดยผู้ป่วยจะมีภาวะซึมเศร้าเป็นเวลานาน อย่างน้อย 1 ปีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
  • โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Major depressive with seasonal patterns) โดยผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศและฤดู ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการหรือโรคกำเริบนั่นเอง

นอกจากนี้อาจมีภาวะอื่นที่สามารถส่งผลกระทบทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของผู้หญิงในช่วงประจำเดือน หรือ ช่วงตั้งครรภ์เป็นต้น

2.  ชนิดอาการไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)

โดยไบโพลาร์เป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่ทำให้ผู้ป่วยเจอกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรุนแรง

โดยไบโพลาร์เองก็สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 ชนิดด้วยกัน คือ

  • ไบโพลาร์ชนิดที่ 1 (Bipolar I ) โดยชนิดนี้ผู้ป่วยอาจอยู่ในช่วงคลั่ง (Hypomania) อย่างน้อย 7 วัน

**ซึ่งภาวะซึมเศร้ามักไม่ค่อยเกิดกับไบโพลาร์ชนิดที่ 1 แต่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางคน**

  • ไบโพลาร์ชนิดที่ 2 (Bipolar II ) โดยผู้ป่วยอาจมีภาวะซึมเศร้ามากกว่า 2 อาทิตย์ โดยอาจมีอาการคลั่งที่ไม่รุนแรงร่วมด้วย
  • ไซโคลทิเมีย (Cyclothymia) โดยผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคไบโพลาร์ที่ไม่รุนแรง อาจมีอาการทั้งภาวะซึมเศร้าและภาวะคลั่งได้ แต่จะไม่มีระยะเวลาใดๆมาเป็นตัวกำหนด

ผู้ป่วยอาจเป็นสลับกัน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นเวลา 2 ปี หรือมากกว่านั้น


แล้วมันอันตรายยังไงล่ะ..?

แน่นอนว่าการที่เราเป็นโรคจิตทางรมณ์นั้น ก็อันตรายมากพอจากอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า สิ้นหวัง หรือภาวะต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเรา

แต่ความอันตรายยังมีมากกว่านั้น เนื่องจากโรคจิตทางอารมณ์นั้น อาจมีอาการร่วมที่เกิดจากภาวะของทั้งสองชนิดที่กล่าวมา คือ

  • ความเศร้า หงุดหงิด วิตกกังวล
  • เหนื่อย ไม่อยากทำอะไรเลย
  • ไม่สนใจสิ่งรอบตัว หรือคนรอบข้าง รวมถึงงานอดิเรกที่เคยชอบทำ
  • ความผิดปกติทางพฤติกรรมการนอนและกิน
  • พฤติกรรมเปลี่ยนไป
  • ไม่มีสมาธิ
  • อาจมีความติดฆ่าตัวตาย
  • ก้าวร้าวขึ้น
  • ตัดสินใจปุบปับ ประมาท
  • มั่นใจในตัวเองจนเกินไป

แล้วโรคจิตทางอารมณ์เกิดจากอะไรกัน ?

เช่นเดียวกับโรคทางจิตหลายๆโรค ณ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคจิตทางอารมณ์ แต่มีปัจจัยเสี่ยงและกระตุ้นโรคนี้ได้

  • สารสื่อประสาท หรือเคมีในสมองผิดปกติ
  • เหตุการณ์ที่ร้ายแรงบางอย่าง ที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ก็อาจเป็นปัจจัยที่สามารถกระตุ้นโรคนี้ได้ เช่น การสูญเสียคนรัก
  • การใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีภาวะซึมเศร้า หรือโรคอาการทางจิตใดๆ ทางลูกหรือญาติๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน

 


อารมณ์แปรปรวน หรือ รุนแรงขนาดไหนถึงต้องไปหาหมอ ?

การวินิจฉัย หรือแบบทดสอบเพื่อหาโรคจิตทางอารมณ์โดยตรงนั้นยังไม่มี แต่ผู้เชี่ยวชาญสามารถประเมินตามอาการได้

โดยหากใครมีอาการที่กังวลสามารถตรวจคัดกรองอาการด้วยแอปพลิเคชั่น Agnos ก่อนได้ ด้วยการใช้ตัว AI ปัญญาประดิษฐ์ เพียงแค่ใส่อาการที่เป็นและตอบคำถามจากทาง AI เพื่อรับการวิเคราะห์เบื้องต้นนั่นเอง

โรคนี้สามารถหายได้มั้ย ?

ข่าวดีคือ แน่นอนว่าได้ แต่ข่าวร้าย คือ โรคจิตทางอารมณ์สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้

การรักษาหลักๆ จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  • การรับการบำบัด
  • รักษาด้วยยา

รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ และกินอาหารที่มีประโยชน์เป็นต้น

ระยะการรักษาของแต่ละคนอาจขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค

แน่นอนว่าหากได้รับการรักษาที่ยิ่งไว และตรงจุดมากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสหายได้ไวมากเท่านั้น

โดยหากใครมีอาการไม่พึงประสงค์และกังวลใดๆ อย่าลืมนึกถึง Agnos เลย โหลดติดเครื่องไว้ สบายใจกว่า เช็กอาการเบื้องต้นได้ฟรี 24 ชั่วโมง เสมือนมีเพื่อนเป็นหมอ !

 

 


อ้างอิง :

https://www.healthline.com/health/affective-disorders#takeaway

https://www.healthcarethai.com

https://www.nasmhpd.org/sites/default/files/DH-TreatingAffectivePsychosis_v2_0.pdf

https://saranukromthai.or.th

โรคซึมเศร้า…ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ควรเช็กอาการเบื้องต้น และปรึกษาจิตแพทย์ที่ไหนดี? รักษาโรคซึมเศร้า พัทยา

สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่แน่ใจภาวะอารมณ์ของเราตอนนี้ สงสัยว่าตอนนี้ เราเสี่ยงเป็น หรือกำลังเป็น “โรคซึมเศร้า” และไม่แน่ใจว่าต้องทำยังไง หรือไปรักษาที่ไหน..

วันนี้ Agnos มีสถานที่และ platform ที่จะตอบคำถามเหล่านั้น !

สำหรับเพื่อนๆที่ ยังไม่แน่ใจว่า ตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า และอยากจะเช็กอาการเบื้องต้น ก่อนไปพบแพทย์  


1. สายด่วน 1323 สายด่วนสุขภาพจิต

บริการจากกรมสุขภาพจิต ที่พร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครียดในชีวิต หรือสอบถามข้อมูลและคัดกรองความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า หรืออาการทางจิตอื่นๆ โดยนักจิตวิทยากว่า 30 คน

หากใครสะดวกที่จะพิมพ์แชทมากกว่า สามารถทักเข้าไปได้ทาง Facebook เพจ : 1323 ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต (เวลาทำการ 17:00 – 22:00)


2. เช็กอาการเบื้องต้นกับ Agnos Application

นอกจากอาการทางกายแล้ว Agnos ให้บริการ ในการตรวจเช็กอาการทาง จิตใจ อีกด้วย และหากเพื่อนๆ คนไหน ต้องการที่จะปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ก็สามารถทำได้เช่นกัน พร้อมโปรโมชั่นพิเศษให้ทุกคนได้เลือกตามความต้องการอีกด้วย

หากเพื่อนๆ มีความไม่สบายใจ หรืออาการใดๆ สามารถตรวจเช็กอาการเบื้องต้นด้วย Agnos Application ได้ทุกที่ทุกเวลา และทางเราก็มี บริการแนะนำจิตแพทย์ และหมอเฉพาะทางให้ทุกๆ คนอีกด้วย พบกับบริการใหม่นี้ได้เร็วๆ นี้

สามารถตรวจเช็กได้ทุกที่ทุกเวลา แนะนำคุณหมอให้ เสมือนมีเพื่อนเป็นหมอ !


3. Dmind

อีกหนึ่งนวัตกรรมเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัท Agnos Health ที่สามารถคัดกรองอาการโรคซึมเศร้า

สามารถเข้าใช้งานได้ผ่าน “หมอพร้อม” โดยเลือก
หมอพร้อม Chatbot >> ตรวจสุขภาพใจ >> ตรวจสุขภาพใจกับคุณหมอพอดี และสามารถเริ่มทำแบบทดสอบได้เลย !

ผู้ใช้งานจะคุยกับ “คุณหมอพอดี” โดยแอปพลิเคชันจะทำการบันทึกใบหน้าและเสียง เพื่อการประเมินนั่นเอง


สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการไปพบจิตแพทย์

แน่นอนว่าไปพบแพทย์ หรือ เข้ารับการรักษา เราต้องหาข้อมูลต่างๆ มากมาย แต่จะเริ่มยังไงล่ะ?

Agnos จะพาเพื่อนๆ มาเลือกจิตแพทย์กันดู !

1. เลือกตาม อายุ ของผู้ป่วย

  • จิตเวชเด็กและวัยรุ่น
    จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น อาจโฟกัสที่พฤติกรรมและความคิดของเด็กๆ และความผิดปกติ ไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยทางสารเคมีในสมอง หรือจิตใจ โดยอาจมีการปรึกษากับครอบครัว เพื่อหาแนวทางต่างๆ ในการรักษาเพิ่มเติม
  • จิตเวชผู้ใหญ่
    สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยจะมีการรักษา 2 ประเภท คือ การรักษาด้วยยา และ การรักษาทางจิตใจ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบการพูดคุยเพื่อหาปัญหาของผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวเองมากขึ้น
  • จิตเวชผู้สูงอายุ
    สำหรับผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป โดยจะครอบคลุมตั้งแต่ การประเมิน ป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาความผิดปกติ ไม่ว่าจะเกิดจากสารเคมีในสมอง หรือ ทางจิตใจนั่นเอง

2. เลือกตามประเภทของสถานพยาบาล

โรงพยาบาลรัฐ
อาจจะมีคิวที่ยาวสักหน่อย ค่าบริการครั้งแรกอยู่ที่ 50 – 1,000 บาท และครั้งต่อไปอยู่ที่ 50 – 100 บาท

โรงพยาบาลเอกชน
โรงพยาบาลเอกชนที่มีแผนกจิตใจก็มีมากมาย โดยค่าบริการจะอยู่ที่ 1,000 – 3,000 บาท แล้วแต่สถานพยาบาล

คลินิกจิตเวช
เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วย เพราะเดินทางสะดวก ค่าบริการเหมาะสม (ค่าบริการแตกต่างกันออกไปในแต่ละคลินิก)

รายชื่อโรงพยาบาลทั้งเอกชน รัฐ และคลินิกทั่วไทย

กรุงเทพฯและปริมณฑล

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
  • คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
  • โรงพยาบาลกลาง
  • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (รับเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งของ รพ.)
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แผนกจิตเวช อาคาร ภปร ชั้น 12 โทร. 0-2256-4000, 0-2256-5180, 0-2256-5182
  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ
  • โรงพยาบาลตากสิน
  • โรงพยาบาลตำรวจ
  • โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • โรงพยาบาล นครปฐม
  • โรงพยาบาล สมุทรสาคร
  • โรงพยาบาลพร้อมมิตร (รพ.บ้านแพ้ว สาขาพร้อมมิตร)
  • โรงพยาบาลปทุมธานี
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช
  • โรงพยาบาลมเหสักข์
  • โรงพยาบาลราชวิถี
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ อาคาร 4 ชั้น 2 โทร 02-201-1235 หรือ 02-201-1726
  • โรงพยาบาลเลิดสิน
  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงพยาบาลศรีธัญญา คลินิกคลายเศร้า (โรคซึมเศร้า) ทุกวันพุธ เวลา 08.00-12.00 น. โทร 02-528-7800 ต่อ 57164
  • โรงพยาบาลสงฆ์
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (รพ.ชลประทาน จ.นนทบุรี)
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง สายด่วนสุขภาพจิต 02-391-2962
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 33 วัดหงส์รัตนาราม
  • สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (เดิมชื่อ โรงพยาบาลนิติจิตเวช)
  • สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • สถาบันธัญญารักษ์ (สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี)
  • สถาบันประสาทวิทยา
  • สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ

ภาคเหนือ

  • โรงพยาบาลจอมทอง จ.เชียงใหม่
  • โรงพยาบาลเชียงใหม่-ราม (เอกชน)
  • โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เชียงใหม่
  • โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก)
  • โรงพยาบาลสวนปรุง (จ.เชียงใหม่)
  • โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์ (เอกชน) จ.เชียงราย
  • โรงพยาบาลน่าน
  • โรงพยาบาลแพร่
  • โรงพยาบาลลำปาง
  • โรงพยาบาลลำพูน
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แม่ฮ่องสอน
  • โรงพยาบาลสุโขทัย
  • โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
  • สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ (จ.เชียงใหม่)
  • คลินิกนายแพทย์ศิริศักดิ์ เชื้อชวลิต
  • คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางจิตเวชหมอแพรว
  • คลินิกแพทย์หญิงนฤมล จ.แพร่
    [ หมายเหตุ : จ.พะเยา ไม่มีจิตแพทย์ประจำ มีจิตแพทย์จาก จ.แพร่ ไปออกตรวจเดือนละ1ครั้ง ต้องสอบถามทางโรงพยาบาลว่าเป็นวันที่เท่าไหร่ในแต่ละเดือน ]

ภาคตะวันตก

  • โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (จ.กาญจนบุรี)
  • โรงพยาบาลแม่สอด (จ.ตาก)
  • โรงพยาบาลราชบุรี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (จ.ตาก)
  • โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัด สุพรรณบุรี
  • โรงพยาบาล หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
  • โรงพยาบาล บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี
  • โรงพยาบาลนภาลัย (เดิมชื่อรพ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม)

าคตะวันออก

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ ระยอง
  • โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (จ.ปราจีนบุรี)
  • โรงพยาบาลชลบุรี
  • โรงพยาบาลบางละมุง จ.ชลบุรี
  • โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา
  • โรงพยาบาลพระปกเกล้า (จ.จันทบุรี)
  • โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา
  • โรงพยาบาลระยอง
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา (จ.ชลบุรี)
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี
  • โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ (จ.ชลบุรี)
  • คลินิกเวชกรรมหมอภาสกร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โรงพยาบาลครบุรี (จ.นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (จ.นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น
  • โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • โรงพยาบาลเทพรัตน์ (จ.นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • โรงพยาบาลปากช่อง (จ.นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ (จ.อุบลราชธานี)
  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • โรงพยาบาลยโสธร
  • โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • โรงพยาบาลศรีสะเกษ
  • โรงพยาบาลสกลนคร
  • โรงพยาบาลสุรินทร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • คลินิกหมอมงคล
  • คลินิกแพทย์หญิงโชติมา
  • คลินิกสุขภาพใจ(พญ.พิยะดา)

ภาคใต้

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ สมุย
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่
  • โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลตะกั่วป่า (จ.พังงา)
  • โรงพยาบาลท่าศาลา (จ.นครศรีธรรมราช)
  • โรงพยาบาลทุ่งสง (จ.นครศรีธรรมราช)
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา (เกาะยอ)
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ปัตตานี
  • โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลปัตตานี
  • โรงพยาบาลพัทลุง
  • โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลยะลา
  • โรงพยาบาลราษฏร์ยินดี (จ.สงขลา)
  • โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต
  • โรงพยาบาลศูนย์ตรัง
  • โรงพยาบาลสงขลา
  • โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ (จ.สุราษฎร์ธานี)
  • โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • คลินิกแพทย์ธิติพันธ์
  • คลินิกรัษ์จิต
  • คลินิกหมอตาล

ถึงแม้ว่าอาการทางจิตใจ บางทีอาจจะไม่ได้ถูกให้ความสำคัญมากนัก แต่เราควรหมั่นเช็กตัวเราเอง รวมถึงคนรอบข้างของเราเสมอ เพราะอาการทางจิตต่างๆ มักส่งสัญญาณเตือนเสมอ เพราะฉะนั้นหากเพื่อนๆคนไหน ไม่สบายใจเกี่ยวกับอาการ หรือมีความไม่สบายใจต่างๆ  Agnos ก็พร้อมจะให้บริการ พร้อมแนะนำคุณหมอที่เหมาะสมกับเพื่อนๆ และเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคน !

รวมรายชื่อสถานที่รักษาจิตใจ

https://goodlifeupdate.com/healthy-body/186799.htm

 

อ้างอิง :

https://dmh.go.th/service/view.asp?id=147#:~:text=คลินิก%3A%20บริการสายด่วนสุขภาพ,พุธ%20พฤหัส%20ศุกร์%20เสาร์%20อาทิตย์

https://www.chula.ac.th/highlight/75794/

https://www.facebook.com/helpline1323/

https://mekhanews.com/health-news/counseling-for-depression-where-to-find-a-doctor/

https://my-best.in.th/51737